ความเป็นมาของชนชาติลาว1 - Book Time: be wise in time
ประวัติศาสตร์/สังคม/การเมือง
ความเป็นมาของชนชาติลาว1

ผู้เขียน: มหาบุนมี เทบสีเมือง
แสดงรายละเอียดเพิ่มเติม

ราคาปก: 2,010.00 บาท
ราคาขาย: 1,608.00 บาท
ประหยัด: 402 บาท (20 %)
ความเป็นมาของชนชาติลาว1
ผู้เขียน: มหาบุนมี เทบสีเมือง
แสดงรายละเอียดเพิ่มเติม
แชร์: line

ชุดความเป็นมาของชนชาติลาว1

1 ชุด ประกอบด้วย

ความเป็นมาของชนชาติลาว

หนังสือที่ชี้ให้เห็นถึงการตั้งถิ่นฐานและกรสถาปนาอาณาจักรของชน ชาติลาวมองเห็นอดีตแห่งความบากบั่น ล้มลุกคลุกคลานของบรรพบุรุษของชนชาติลาว ภายในเล่มคุณจะได้ตื่นตาตื่นใจไปกับข้อมูล หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ โบราณสถานโบราณวัตถุ ที่ทำให้รู้ว่าชนชาติลาวมาจากไหน วิวัฒนาการมาอย่างไรรวมถึงลำดับกษัตริย์ วัฒนธรรมและตำนานต่างๆอย่างกระจ่างชัดจากมุมมองนักประวัติศาสตร์ชาวลาว


ความเป็นมาของชนชาติลาว 2 อาณาจักรล้านช้าง ตอนต้น

หนังสือเล่มนี้เป็นหนังเกี่ยวกับการเขียนประวัติศาสตร์อาณาจักร ลาวล้านช้าง เป็นการกล่าวถึงเหตุการณ์ในอดีตภายใต้ระบอบศักดินาอาชญาสิทธิ์ มีความจำเป็นต้องกล่าวถึงกษัตริย์แต่ละพระองค์ว่ามาจากไหน มาด้วยวิธีใด จุดเด่นของแต่ละพระองค์ ตลอดจนบรรยากาศแวดล้อม เมื่อรวบรวมข้อมูลเหล่านี้เพียงพอแล้วจึงจะมีจินตนาการอันถูกต้อง มองเห็นภาพรวมของเหตุการณ์ได้ดียิ่งขึ้น


 ความเป็นมาของชนชาติลาว 3 อาณาจักรล้านช้าง ตอนปลาย

จากประวัติศาสตร์อันละอิดละเอี้ยว สู่หนังสือที่จะทำให้ท่านรู้จัก สปป.ลาว อย่างละเอียดลออ ความเป็นมาของชนชาติลาว อาณาจักรลาวล้านช้างตอนปลาย และการก่อตั้ง สปป.ลาว จากอาณาจักรที่เคยรุ่งเรืองเป็นเมืองเอกราช จำต้องสูญเสียเอกราชที่หวงแหนให้แก่ชาติอื่นจนต้องลุกขึ้นมาต่อสู้ อันเป็นที่มาของบทสรุปการต่อสู้อันยาวนานของประชาชนผู้ต้องการอิสรภาพ บทเรียนอันยิ่งใหญ่ถูกบันทึกไว้ จนถึงวันปลดปล่อยชาติ สถาปนาสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เมื่อพ.ศ.2518 ชี้ให้เห็นถึงสัจธรรมที่ว่า ที่ใดมีการกดขี่ ที่นั่นย่อมมีการต่อสู้


 ความเป็นมาคนอีสาน

เขาบอกว่า ประวัติศาสตร์ละอิดละเอี้ยว คนอีสานจึงได้ ระเหระหน เป็นเรื่องของ คนดาว ที่แผ่ขยายเผ่าพันธุ์ดึกดำบรรพ์มาเป็น คนลาว อยู่เต็มไปหมดทั่วแหลมสุวรรณภูมิ และครึ่งหนึ่งของประเทศจีน ก่อนจะมี จาม มอญ ขอม เข้ามาอยู่ในสุวรรณภูมิ กระทั่งสองร้อยกว่าปีมานี้ คนในดินแดนอีสานส่วนใหญ่ถูกบังคับโยกย้ายมาจากที่อื่น ให้มาอยู่ที่อีสานรุ่นบรรพบุรุษของเราเมื่อตอนนั้นถูกบังคับโยกย้ายมาจากที่อื่น ให้มาอยู่ที่อีสาน ประวัติศาสตร์อันเจ็บปวด ก็เหมือนแผลเป็น ลูบพบรอยคราวใด หัวใจก็ไฟวสะท้าน ทุกวันนี้ คนอีสาน มีทั้ง ลาว ข่า กูย ขมุ จีน จาม ฯลฯ ไม่ว่าเราาจะมีบรรพบุรุษเป้นชนชาติใด ใหม่ เก่า เราก็คือคนอีสาน ที่อยู่กับเสียงพิณ เสียงแคน จ้อยเจรียงลำคำผญา อยู่กับปัจจุบัน สุขทุกข์ลำเค็ญยิ้มอย่างไรเราก็เป็นคนอีสานด้วยกัน


 ผู้ไทลูกแถน ภาค 1 สานสัมพันธ์เชื่อมพรมแดนอาเซียนเป็นหนึ่งเดียว

หนังสือที่ครอบคลุมถึง ผู้ไท มากที่สุดเท่าที่เคยมีมา ภาพ 4 สี สวยงาม และภาพขาวดำอมตะ ที่รวบรวมไว้ยืนยันควบคู่กับเนื้อหาที่ครอบคลุม เล่มนี้ไม่ใช่แต่ ผู้ไท เท่านั้นที่ต้องอ่าน คนไทยทุกคนต้องรู้ไว้ เพื่อความเข้าใจในไทยด้วยกัน ผู้ไท (ภูไท) ไม่ได้มีเฉพาะที่ประเทศไทย แต่มีในจีน เวียดนาม ลาว ไทย ฯลฯ ผู้ไท ไม่ใช่ชาติพันธุ์เดี่ยวๆ แต่ยังมีชาติพันธุ์ ไท ที่ใกล้ชิดกันอีกมาก ประวัติศาสตร์  ชาติพันธุ์ ในอุษาคเนย์สัมพันธ์กันอย่างน่าอัศจรรย์ ผู้ไท ลูกแถน สานสัมพันธ์ เชื่อมพรมแดน อาเซียน ... เป็นหนึ่งเดียว คือคำตอบ


ผู้ไทลูกแถน ภาค 2 สืบค้นรากเหง้าผู้ไทนานาชาติ จากนิทานพญาแถน

"ผู้ไท ลูกแถน ภาค 2 สืบค้นรากเหง้าผู้ไทนานาชาติ จากนิทานพญาแถน" นับเป็นงานสานต่อจากที่ก่อร่างสร้างตัวขึ้นในบรรณพิภพด้วยเล่ม "ผู้ไท ลูกแถน สายสัมพันธ์ เชื่อมพรมแดน อาเซียน... เป็นหนึ่งเดียว" ซึ่งเป็นภาค 1 เป็นเล่มที่เปิดเผยตัวตนผู้ไทมากกว่าที่เคยมีมาก่อน ทำให้รู้ว่าผู้ไทมีอยู่ ณ แห่งหนตำบลใดบ้างในประเทศไทยและนอกประเทศและนอกประเทศไทยในบางส่วน ด้วยจิตใจที่มุ่งมั่นว่า สักวันจะต้องไปให้ถึงเมืองแถนให้ได้ คุณ สุเทพ ไชยขันธุ์ ผู้ไท เมืองกาฬสินธุ์ ถิ่นไทยแลนด์จึงเดินทางไปต่างแดน เพื่อสืบค้นรากเหง้าผู้ไทยังเมืองแล้วเมืองเล่า ซึ่งก็ไม่ทำให้ผู้อ่านผิดหวัง เพราะคุณสุเทพพบข้อมูลใหม่หลายอย่างให้ศึกษากันต่อไป เรียกว่ายิ่งค้นยิ่งเจอ มีประเด็นใหม่กว่าเดิม เช่น สถานที่สำคัญๆ จุดหลักๆ ที่ผู้ไทได้ยินได้ฟังกันมานานตามตำนานน้ำเต้าปุง นาน้อยอ้อยหนู เวียงสามหมื่น เมืองแถน เมืองลอ สถานที่ประวัติศาสตร์ดังก้องโลกคือสมรถภูมิเดียนเบียนฟู แม่น้ำสายสำคัญต่อวิถีชีวิตของชาวผู้ไท และอื่นๆ อีกมาก

Other Online Stores:

Lazada   Shoppee

บริษัท BOOK TIME จำกัด
Email: cs@booktime.co.th

เลขที่ 214 ซอยพระรามที่ 2 ซอย 38 ถนนพระราม 2
แขวงบางมด เขตจอมทอง กรุงเทพฯ 10150
โทร. 02 415 2621, 02 415 6507
แฟกซ์. 02 416 7744