เรื่องราวของความเครียด
ทั้งๆที่เหนื่อยแต่ทำไมนอนไม่หลับ
อายุที่มากขึ้นและความเครียดทำให้คุณภาพการนอนหลับลดลง
แม้จะเหนื่อยล้าแค่ไหนแต่ก็นอนไม่หลับสักที อีกทั้งยังตื่นกลางดึกหรือไม่ก็แต่เช้ามืด..ปัญหาเรื่องการนอนหลับเหล่านี้เรียกว่า“โรคนอนไม่หลับ”หรือ “ความผิดปกติของการนอนหลับ”
ขณะที่เรานอนหลับ จะมีวงจรการนอนหลับ 2 ช่วงคือ “การนอนหลับช่วง R EM” และการนอนหลับช่วง non-rem ซึ่งจะเกิดขึ้นสลับกันไปในแต่ละคืนลักษณะของการนอนหลับที่สมองส่วนตัวแต่ร่างกายหลักคือการนอนหลับแบบ R EM ส่วนการนอนหลับแบบ non-rem คือสภาวะที่สมองหลับลึกซึ่งระดับความลึกของการนอนหลับเริ่มตั้งแต่ระดับ 1 ถึงระดับ 4 เป็นเรื่องปกติที่การตื่นในระดับ ความลึก 2-3 จะเกิดขึ้นเมื่ออายุมากขึ้นการนอนหลับจะตื่นตื้นขึ้นแม้แต่วัยหนุ่มสาวเองหากมีเรื่องเครียดหรือวิตกกังวลการนอนหลับ แบบ non-rem จะไม่ลึกเกิดอาการนอนไม่หลับ
เมื่อปัญหานอนไม่หลับเกิดขึ้นในลักษณะเรื้อรังไม่เพียงแต่สมาธิและความสามารถในการตัดสินใจจะถดถอยลงแต่การทำงานของ ระบบภูมิคุ้มกันก็จะเสื่อมลงด้วยทำให้เจ็บป่วยและเจ็บเชื้อง่ายเป็นที่ทราบกันว่าฮอร์โมนหรือดินที่คอยยับยั้งความอยากอาหารจะหลั่งออกมาน้อยลงส่งผลต่อโรคอ้วน ไม่มีข้อมูลที่แสดงว่าการนอนไม่หลับทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยได้การนอนไม่หลับทำให้มีอาการเหม่อ ลอยหรือต้องงีบหลับซึ่งอาจส่งผลเสียต่อการดำรงชีวิตในสังคมแต่ไม่มีข้อมูลที่แสดงว่าการนอนไม่หลับเชื่อมโยงโดยตรงกับความเจ็บป่วยหนักทางกายเช่นโรคมะเร็งหรือเบาหวานเป็นต้น
เรื่องราวของภูมิคุ้มกัน
“การเสริมภูมิต้านทาน” ถ้าจะพูดให้เข้าใจง่าย คือ การทำให้สุขภาพแข็งแรงขึ้นนั่นเอง เป็นการยกระดับสุขภาพให้ดีขึ้น แต่ปัจจุบันคนส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้ชีวิตที่เอื้อให้มีสุขภาพดีกันได้ เพราะการทำงานนั่งโต๊ะแบบไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกาย แม้จะกินอาหารครบ 3 มื้อก็ตาม การไม่ลงแช่ในอ่างอาบน้ำ (โอฟุโระ) เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องยุ่งยาก แค่อาบน้ำในฝักบัวให้เสร็จๆ ไปก็พอ การเล่นคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือจนลืมว่าต้องนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอในแต่ละวัน การคิดแต่เรื่องลบๆ การกินอาหารฟาสต์ฟู้ดมากเกินไป เป็นต้น
คุยเฟื่องเรื่องไขมัน
“ไขมัน” คือสิ่งที่แทรกซึมอยู่ในวิถีการกินของผู้คนมาช้านาน ต่อให้ทราบข้อเสียมากมายแค่ไหน ก็ไม่อาจตัดใจลด ละ เลิก ได้ง่ายๆ เพราะอะไรน่ะหรือ...ก็เพราะว่า “ไขมันคือสิ่งที่อร่อยมากๆ ยังไงล่ะ” เป็นความอร่อยที่เรายอมเสี่ยงกับโรคภัยเพื่อให้ได้กินต่อไปเรื่อยๆ แต่ช้าก่อน... หนทางแห่งความอร่อยและสุขภาพดียังมีอยู่ และหนังสือเล่มนี้จะพาคุณไปสำรวจเส้นทางเหล่านั้น