รู้หรือไม่ ทำไมยุคก่อนสมัยกลางจึงต้องมีเทพเจ้า - Book Time: be wise in time
บทความ

รู้หรือไม่ ทำไมยุคก่อนสมัยกลางจึงต้องมีเทพเจ้า
3,OCT,2022 โดย Admin kapook (DAIFUKU)
แชร์: line

 

คนชอบอ่านนิยายสืบสวนส่วนใหญ่ ชอบเรียนรู้

แอดเลยแนะนำเล่มนี้ เพื่อการกระตุ้นต่อมอยากเรียนรู้...

รู้หรือไม่?  ทำไมยุคก่อนสมัยกลางจึงต้องมีเทพเจ้า

 

ตั้งแต่ยุคก่อนสมัยกลาง ‘การมีตัวตนของเทพเจ้า’ ถือเป็นเรื่องปกติของผู้คนและผู้ปกครองบนโลกต่างก็ครองอำนาจในฐานะ “ผู้มีความเกี่ยวข้องกับเทพเจ้า” ยกตัวอย่างเช่น กษัตริย์อียิปต์โบราณ หรือ ฟาโรห์ เป็นผู้ที่ชาวอียิปต์ยอมรับว่าเป็นเทพเจ้า มีหน้าที่เป็นผู้นำด้านการปกครองและศาสนาในสังคมที่มีเทพเจ้าเข้ามาเกี่ยวพันกับการใช้ชีวิตของผู้คนทำให้มีพิธีกรรมที่เกี่ยวข้ องกับเทพเจ้าอยู่มากมายและผู้ที่เป็นหัวหน้าหรือผู้นำจะทำหน้าที่จัดพิธีกรรมดังกล่าว

สิ่งที่กษัตริย์ใช้ปกครองผู้คนคือ ‘ระบบศักดินา’ แต่ก็ใช่ว่าทุกคนจะเชื่อฟังเพราะเป็นระบบที่ปกครองโดยผู้มีอำนาจ ถ้าการปกครองของผู้มีอำนาจมีเทพเจ้าเป็นเกราะกำบังผู้คนจะเชื่อฟังจากใจจริงได้ง่าย จึงอาจกล่าวได้ว่าโลกก่อนสมัยกลาง คือ

“ยุคที่มีความสัมพันธ์กับเทพเจ้าเป็นศูนย์กลาง”จึงเป็นเหตุผลที่ต้องมีเทพเจ้า เพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกันของคนในสังคมถึงสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำ ให้ผู้คนตระหนักรู้เรื่องศีลธรรม นอกจากนี้ ‘การมีเรื่องเล่า’ ร่วมกัน อาทิ ตำนานเทพเจ้า ปกรณัม พระคัมภีร์ เป็นต้น ทำให้ผู้คนบนโลกและเทพเจ้าเชื่อมโยงกัน

.

ข้อมูลดังกล่าวได้มาจากหนังสือ ‘เอ๊ะ! ง่ายนะ ทำไมตอนเรียนไม่เข้าใจ’

ที่รวบรวมความรู้ทั่วไปมาย่อไว้ในหนังสือเพียงเล่มเดียว

เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อหาได้อย่างง่ายดาย

.

เอ๊ะ! ง่ายนะ ทำไมตอนเรียนไม่เข้าใจ

The Most Intelligible Guide of General Knowledge in the World

ผู้เขียน : คัทสึยูกิ โคดามะ

ผู้แปล : นันทพร ชื่นกระโทก

จำนวน : 272 หน้า


“เมื่ออ่านรอบแรกจะรู้สึกสนุก อ่านรอบสองจะทำให้ได้คิด พออ่านรอบสามจะเกิดการค้นพบใหม่ ๆ “

----------------------------------------------------------

ติดตามข่าวสารและโปรโมชั่นเพิ่มเติม

1. www.booktime.co.th

2. Line : @booktime >> http://goo.gl/mfGxSK




Other Online Stores:

Lazada   Shoppee

บริษัท BOOK TIME จำกัด
Email: cs@booktime.co.th

เลขที่ 214 ซอยพระรามที่ 2 ซอย 38 ถนนพระราม 2
แขวงบางมด เขตจอมทอง กรุงเทพฯ 10150
โทร. 02 415 2621, 02 415 6507
แฟกซ์. 02 416 7744